Taken from my FB note
In the spirit of a constitutional referendum that will be held in Thailand tomorrow (August 7, 2016), I share this note about the basis of Swedish society based on my observation. I will not be able to go vote but I hope you will go out and exercise your right.
ขอเกาะกระแสประชามติร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (7 สิงหาคม 2559) โดยการ share บันทึกเกี่ยวกับข้อสังเกตที่ผมมีเกี่ยวกับสังคมสวีเดน ผมไม่สามารถมีส่วนร่วมในการลงคะแนนประชามติครั้งนี้แต่หวังว่าท่านที่สามารถไปได้จะออกไปใช้สิทธิกันครับ
Sweden always has a place in the top ranks on all the lists that every country wants to be on: the best countries, the happiest countries, and all others. I have heard good things about the country for a long time, and this year I have the opportunity to experience it. Here, I would like to make a short remark about what I have observed and I think are the fundamental reasons behind the success story of this country.
สวีเดนถือเปนประเทศหนึ่งที่มีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆ เสมอในการจัดอันดับที่หลายๆ ประเทศหวังว่าจะมีชื่อส่งเข้าประกวดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด, ประเทศที่มีดัชนีความสุขสูงสุด, และอื่นๆ ในโอกาสที่ได้มาอยู่สัมผัสความเป็นอยู่ ณ ที่แห่งนี้ด้วยตนเอง ผมก็เลยลองเขียนข้อสังเกตทั่วๆ ไป ว่าอะไรเป็นสาเหตุขั้นพื้นฐานที่ทำให้ประเทศนี้น่าอยู่
Individualism is definitely one of them. The Swedes (I refer to the natives, and most of the people who live here for quite a while) are very independent and enjoy spending time with themselves. You often see people go walk, hike, or run in a park or a forest alone. This actually give you some goods you might not be aware of. You really focus on the moment and hear your thoughts. It is a great chance for you to get to know yourself better. It also helps building your self-esteem, which is an essential mindset.
ความเป็นปัจเจกนิยมถือว่าเป็นหนึ่งในหลายๆ สาเหตุ ชาวสวีเดน (ทั้งดั้งเดิม และผู้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่) ชอบที่จะพึ่งพาและอยู่กับตัวเอง หลายๆ คนเดินเที่ยวตามทางธรรมชาติ (สวนสาธารณะ ป่า เขา ขนาดเล็ก/ใหญ่) กันคนเดียวเป็นประจำ กิจกรรมพวกนี้หลายๆ ครั้งอาจให้ประโยชน์ที่เราไม่ได้คิดถึง นอกจากจะได้สังเกตสิ่งต่างๆ บางทีก็ยังเป็นโอกาสให้ได้คิดอะไรเพลินๆ ที่หลายๆ ครั้งอาจจะช่วยให้ได้รู้จักตัวเองดีขึ้น แถมการทำกิจกรรมต่างๆ คนเดียวก็ช่วยเสริมความมั่นใจในตัวเองโดยอ้อมๆ อีกต่างหาก
Their love for being independent, does not mean the Swedes do not socialize. Walking on a street downtown on Friday night or in a park on a weekend (when it’s not raining :D), you will see bunches of people drinking, BBQing, and laughing together. They enjoy both of the worlds with a good mix. การมีความเป็นปัจเจกนิยมค่อนข้างสูงก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่นี่จะไม่ชอบการเข้าสังคม สังเกตตามผับ/บาร์/ร้านอาหารในทุกวันเย็นวันศุกร์จะเต็มไปด้วยกลุ่มเพื่อนฝูงที่มาทำการกิน/ดื่ม/สังสรรค์ และตามสวนสาธารณะ/ทะเลสาบในวันเสาร์-อาทิตย์ (ตอนที่ฝนไม่ตก) จะมีคนมาทำบาร์บีคิวและกิจกรรมกลางแจ้งกัน
Another secret ingredient that makes Sweden a great country is their sense of society. This could actually be the most important factor that make Sweden a great nation. The foundation of it is, in my opinion, being respectful to one another. The Swedes believe the best in people. This is possible when everyone is viewed as equal.* Meaning everyone has rights to access essential utilities, medical services, and education. Having provided with basic needs, their time is spent on developing oneself rather than on struggling to survive. Ones would then contribute to society, one way or another. Everyone is considered as a valuable member of the nation.** The idea of believing in people is also reflected in their immigration policy where immigrants/refugees are viewed not as liabilities but assets.
อีกสิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สวีเดนเป็นประเทศที่น่าอยู่ก็คือความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ข้อนี้จริงๆ แล้วอาจจะถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ที่นี่น่าอยู่ โดยส่วนตัวคิดว่าผลลัพธ์นี้ไปตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าทุกคนในสังคมมีความเคารพซึ่งกันและกัน เชื่อว่าทุกคนมีความคิดที่ดี ข้อสันนิษฐานแบบนี้เกิดขึ้นได้ในสภาวะที่คนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน* หมายความว่าทุกคนมีสิทธิอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน, การรักษาพยาบาล, และการศึกษาที่มีคุณภาพ เมื่อประชากรได้รับสิทธิพื้นฐานเหล่านี้อย่างพอเพียง พวกเขาก็มีความพร้อมที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อที่จะช่วยเหลือสังคมส่วนรวมในทางใดทางหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกคนก็จะได้รับการยอมรับ/ปฎิบัติว่าเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า** ความเชื่อในสื่งที่ว่าคนทุกคนมีคุณค่ายังไม่ได้จำกัดต่อคนในประเทศแต่สามารถเห็นได้จากการที่รัฐมีนโยบายช่วยเหลือ/ให้ที่พักพิงผู้อพยพลี้ภัย เนื่องจากผู้อพยพเหล่านี้ก็จะช่วยเหลือสังคมได้ในระยะยาว
This attributes to many wonderful things: extremely low crime rate, free speech, high level of income equality, gender equality, paid parental leave so parents can spend time with their newborns, trust-based services (e.g. public transportation where no one checks your tickets***), collective acts that make real differences (e.g. recycle), impartiality toward people in less favorable circumstances, and many more.
สิ่งที่กล่าวมานำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าชื่นชมหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น อัตราการก่ออาชญากรรมที่ต่ำมาก (คือมาอยู่ที่นี่สี่เดือนไม่ได้ยินเลย แต่มันคงมีบ้างล่ะมั้ง), อิสรภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็นในทุกๆ เรื่อง, ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้, ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ, การให้ผู้มีบุตรคลอดใหม่หยุดงานโดยที่ยังได้รับเงินเดือน เพื่อใช้เวลาร่วมกับลูก (ทั้งพ่อ/แม่รวมกันถีง 480 วัน), ระบบการจัดการต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อใจ (เช่น รถราง/บัสที่ไม่ต้องมีผู้ตรวจบัตรโดยสาร***), สิ่งเล็กน้อยที่พอร่วมกันแล้วสร้างความแตกต่างในทางที่ดี (เช่น การ recycle ขยะ เมื่อทุกคนทำ การจัดการก็มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า), ความเห็นอกเห็นใจผู้ตกอยู่ในสถานะภาพที่ลำบาก, และอีกหลายอย่างที่กล่าวถึงได้ไม่หมด
Basically, I view that the country lies on the basis of individualism where they all share the value of being in one big team. The government provides basic needs so everyone can responsibly take care of and develop themselves. These individuals then become independent members of the society that incidentally work together in driving this wonderful nation.
สรุปความคิดเห็นสั้นๆ ว่าประเทศนี้ตั้งอยู่บนความเป็นปัจเจกนิยมที่ทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการเป็นพลเมืองของสังคม รัฐบาลมีหน้าที่จัดสรรสาธารณูปโภคและสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะได้เพื่อที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน เขาเหล่านี้ก็จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพที่จะทำงานร่วมกันในการผลักดันประเทศต่อไป
Now if I look back at the two countries I lived in: the US and Thailand.
ทีนี้ก็ลองมองย้อนกลับไปที่ประเทศที่ผมได้มีโอกาสไปสัมผัสความเป็นอยู่: อเมริกา และ ไทย
The US has a good portion of individualism but they seems to lack the sense of society. This, however, was brought to the spotlight by the Bernie’s campaign during the 2016 US presidential election race. Although Bernie Sanders will not become the nominee for the Democratic party, the greatest legacy of his campaign will live. That is the inspired voters that responded to his ideology, especially the young ones. There is hope.
อเมริกาโดยรวมๆ ถือว่ามีปริมาณความเป็นปัจเจกนิยมมากพอสมควร แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมยังอาจจะน้อยไปหน่อยซึ่งก็น่าจะเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ยังมีให้เห็นทั่วไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ถูกนำมาทำให้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นผ่านทางนโยบายที่ Bernie Sanders นำมาใช้หาเสียงในการลงสมัครเป็นผู้แทนพรรค Democrat ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของอเมริกาที่จะมีขึ้นปลายปี 2016 นี้ ถึงแม้ท้ายที่สุดแล้ว Bernie จะไม่ได้เป็นตัวแทนพรรค แต่กระแสที่ถูกจุดขึ้นมาได้กระจายตัวออกไปในวงกว้างและดึงคนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้มาสนใจการเมืองและสนใจที่จะมีส่วนร่วมในนโยบายที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของพวกเขา (เน้นที่ชนชั้นกลาง) มากขึ้น
Thailand, however, seems to lack both. It is difficult to have a mindset of independence because your life/career depends significantly on the mercy of people with high authority. This is a perfect system for corruption and bribery to thrive. The struggle in life results in people taking advantages over others when chances arise. A believe of growing together is not universal. Let alone having a sense of society or believing in one another. Even worse is, anyone with a different mindset trying to criticize the system could be branded as being dangerous simply because the idea upsets people who benefit from the way the country is operating. I salute all the people who are currently fighting for changes, especially when the country is being governed by fear. Although a ray of light is yet to be seen at the end of the tunnel, unless we give up, there is always hope.
ในส่วนของประเทศไทยโดยรวมยังต้องยอมรับว่าขาดทั้งความเป็นปัจเจกและความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งหนึ่งที่ทำให้มันยากที่บุคคลมีความเป็นปัจเจกและพึ่งพาตนเองก็มาเพราะสภาพสังคมที่อนาคตและหน้าที่การงานของคนหลายๆ คนนั้นต้องพึ่งพาให้ผู้มีอำนาจช่วยเหลือ/ผลักดัน ผลที่ตามมาก็คือการให้สินบนในรูปแบบต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่ทั่วไป นอกจากนั้นการขาดสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะมีก็ทำให้พลเมืองต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ตนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการฉกฉวยโอกาสโดยอาจไม่ได้คำนึงถึงผู้อื่น ความเชื่อที่ว่าเราจะเติบโตไปด้วยกันในสังคมมันขาดไปมาก ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมหรือว่าการให้ความเคารพต่อกันยิ่งไม่ต้องพูดถึง น่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือกลุ่มคนที่พยายามนำเสนอสิ่งเหล่านี้และรณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงกลับถูกประนามว่าเป็นผู้พยายามสร้างความแตกแยกจากกลุ่มผู้ที่ได้รับประโยชน์จากระบบที่เป็นอยู่ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็เป็นผู้มีอำนาจ ผมขอสดุดีท่านทั้งหลายผู้แสวงหาการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่การแสดงออกทางความคิดเห็นไม่สามารถทำได้อย่างอิสระเช่นในช่วงเวลานี้ ความหวังถึงอนาคดที่ดีขึ้นนั้นยังคงมีอยู่หากความตั้งใจของท่านเหล่านี้ยังไม่ล้มเลิกและกระจายตัวออกไป
It is not to say that one country is perfect and/or other places suck. There is no such thing as a perfect country. Although, we could look around and learn in which direction we want our country to go into and how should we get there.
ข้อสังเกตที่เขียนไม่ได้หมายความว่าประเทศใดจะดีไปซะทุกอย่าง แต่มันก็น่าจะเป็นไปได้ที่เราจะเรียนรู้ว่าเป็นเพราะอะไรประชากรในบางประเทศจึงจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่อื่นๆ แล้วนำข้อสังเกตนั้นๆ มาปรับใช้
Note: Individualism with a collective sense of society seems to be the basis mindset in all countries where people have a high quality of life. Check out these two lists to get a rough idea of who they are - Where to be born, World Happiness Report.
ความเป็นปัจเจกนิยมที่พลเมืองมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันนั้นดูเหมือนจะพบได้ในทุกประเทศที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประเทศที่ว่าเหล่านั้นคือประเทศไหนบ้างก็ดูได้คร่าวๆ จากการจัดอันตับสองตัวอย่างนี้ - Where to be born, World Happiness Report.
* Being equal does not mean being the same. Each person plays a part in the uniqueness of a society.
** The tax system which results in a low level of wealth segregation also helps forming strong comradeship.
*** Ticket check occasionally takes place on some tram/bus lines.
* ความเท่าเทียมกันไม่ได้หมายความว่าเหมือนกัน แต่ละบุคคลมีบทบาทที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือ/อยู่ร่วมกันในสังคม
** ระบบการจัดเก็บภาษีที่ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในสังคมก็มีบทบาทช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
*** การสุ่มตรวจตั๋วมีบ้างประปรายบนรถราง/รถบัสบางสาย